ชมรมคนรักพระเครื่อง

Abuse/แจ้งลบ
ABUSE / แจ้งลบ
Your Email :
Why? !
Security Code

สมัครฟรีเวปบอร์ด | ลงประกาศ ซื้อ-ขายสินค้า | เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี | รับฝากเครื่อง Server
รับทำเว็บ | บริการสร้างเว็บไซต์ | ติดต่อลงโฆษณา


"มหากาพย์แห่งวัดดินดอน และพระเดชพระคุณท่านพระครูสุนทรดิตถคณี ภาค สมบูรณ์"




ในยุคก่อนรูปเหมือนปั๊มของพระเดชพระคุณท่านพระครูสุนทรดิตถคณี เล่นหากันพันปลาย ถึงหมื่นก็มีมาแล้ว และที่พบเห็นในสนามมีอยู่ 3 แบบพิมพ์ หากรวมของเก๊จะเป็น 4 แบบพิมพ์ แต่เหตุที่นักขายไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าอันไหนก่อนอันไหนหลัง หรือรู้แต่ตีลงยุคแรกหมดเพื่อผลประโยชน์ที่ได้มาแค่นิดหน่อย ทำให้ รูปเหมือนปั๊มของพระเดชพระคุณท่านพระครูสุนทรดิตถคณี เป็นที่เล่นยากสำหรับคนที่ไม่ทราบ และบางคนอาจจะละเลยมองผ่านไปอย่างน่าเสียดาย

วันนี้ผมจึง “ย้อนรอย” พระเกจิแห่งขุนเขา ใกล้เชิงเขาหลวง ฝั่งลานสกา กันอีกครั้งครับ เดิมทีกะว่าจะเอาให้สมบูรณ์กว่านี้ แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาที่จะเก็บและทำข้อมูล จึงอาจจะยังไม่ครบเครื่อง คงเอาเฉพาะที่พอประมวลได้ กับกระทู้

” มหากาพย์แห่งวัดดินดอน และพระเดชพระคุณท่านพระครูสุนทรดิตถคณี ภาค สมบูรณ์ “

SOLO…http://www.youtube.com/watch?v=UyTMMH9kqaU

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:15:15 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : ) เก็บกระทู้นี้ไว้ใน Bookmarkส่งกระทู้นี้ให้เพื่อนของคุณแจ้งลบกระทู้
[ 1 ][ 2 ] [ 3 ] [ 4 ][ 5 ][ 6 ][ 7 ][ 8 ][ 9 ][ 10 ][ 11 ]

ความคิดเห็น 21

หมื่นเดชและอำแดงเพ็ง โยมปู่และโยมย่าของท่านพระครูฯ มีบุตรจำนวน 5 คน
คนที่ 1 ชื่อแสง มีภรรยาชื่อนิ่ม เป็นชาวบ้านม่วง ข้างคลองน้ำแคบ ตำบลบ้านเกาะ มีบุตรหญิงสองคน ชื่อคุ้ม และชื่อนวล
คนที่ 2 ชื่อศรี คือโยมบิดาของท่านพระครูสุนทรฯ
คนที่ 3 ชื่อเมือง มีภรรยาชื่อแป้น บ้านอยู่ทางทิศเหนือ วัดดินดอน มีบุตร 2 คน ชื่อคล้าย และชื่อทุ่ม
คนที่ 4 ชื่อแก้ว มีภรรยาชื่อ ทองร่วง บ้านอยู่ออกวัดดินดอน มีบุตร ชื่อ นายจวง นางนิล นายช่วย
คนที่ 5 เสียชีวิตเมื่อยังเยาว์ ไม่ปรากฏชื่อ
ซึ่งในต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้บัญญัติไหม้มีการใช้นามสกุล สายสกุลของท่านพระครูใช้นามสกุล “ชิณเดช” ซึ่งคำว่า “ชิณ” หมายถึงเก่าหรือเดิม “เดช” คือหมื่นเดช หมายความหมื่นเดชเป็นต้นตระกูลเดิม

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:50:01 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 22

นายศรี โยมบิดาของพระครูสุนทรฯ มีภรรยาชื่อ อำแดงพุ่ม ชาวบ้านชัน ตำบลกำแพงเซา เป็นบุตรสาวของขุนลัคณ์จันทร์กับอำแดงกิ่ม ขุนลัคณ์จันทร์เป็นพราหมณ์พิธีของเจ้าเมืองนคร มียศเป็นขุน เป็นผู้มั่งคั่งในละแวกนั้น

นายศรีและอำแดงพุ่ม ตั้งรกรากที่บ้านชัน มีบุตร 3 คน
คนที่ 1 เป็นชาย ชื่อ นาค คือ พระเดชพระคุณท่านพระครูสุนทรดิตถคณี
คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ เงิน
คนที่ 3 เป็นหญิง ชื่อ สุข

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:51:17 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 23

สูติกาลของ พระครูสุนทรฯ เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2420 บ้านบางชัน ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายศรี เป็นผู้มีฝีมือทางช่าง และการก่อสร้าง ตลอดทั้งการแกะสลักลายไทยอย่างประณีต เนื่องจากบิดาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมียศเป็น หมื่น และพ่อตามียศเป็น ขุน ฝ่ายพราหมณ์ จึงมีโอกาสได้รับราชการอยู่ในกองช่างหลวง ของเจ้าเมืองนครฯ

ในยุคสมัยนั้นจะเกิดการประการใดก็อาจจะเกินคาดเดา ปรากฏว่าสัตว์พาหนะในท้องที่ประเภทวัวควาย ขาดแคลน ไม่ค่อยสมบูรณ์ชาวบ้านจึงต้องเดินทางไป ลุ่มน้ำตาปี แถวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานีเดี๋ยวนี้ นำมาขายและใช้งานกันเป็นประจำ นายศรีเมื่อครามีลูก 3 คนแล้วต้องเดินทางไปซื้อวัวควายที่บ้านดอน กับพี่ๆน้องๆ หลายคนซึ่งเคยไปมากันประจำ

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:52:42 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 24

นายศรีเกิดเลื่อมใสเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย ศรัทธาและจะบวชในบวรพระพุทธศาสนา จึงให้พี่น้องที่ไปด้วยกันกลับมาขออนุญาตต่อบิดามารดาและภรรยาให้ทราบถึงศรัทธาที่จะบวช ไม่มีใครขัดข้างจึงรับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบางกล้วย เมื่อ พ.ศ.2425 ครานั้นบุตรคนหัวปี คือ ท่านพระครูฯอายุได้ 5 ขวบ ก็อยู่กับมารดาทั้งสามคนพี่น้องที่บ้านชัน เมื่ออายุได้ 6 ปี พ.ศ.2426 หมื่นเดชพาไปเรียนหนังสือที่บ้านออกวัดดินดอน ครั้นเมื่อเห็นว่าเขียน นอโม ก ข แจกลูกได้บ้างแล้ว จึงพาไปถวายเป็นศิษย์กับท่าน วัดสระเรียง
ต่อมาเมื่อพระศรี ซึ่งเป็นบิดาของพระครูสุนทรจำพรรษาที่วัดบางกล้วย จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ 3 พรรษาพี่ชาย น้องชาย และญาติใกล้ชิด ขอนิมนต์กลับมาเมืองนครฯ ในปี พ.ศ.2428 เดินทางกลับ ใช้เรือล่องออกปากน้ำบ้านดอน เลียบฝั่งทะเลเข้าปากนคร และมาจำพรรษาที่วัดสระเรียง ก็ได้อยู่ปรนนิบัติพระศรีในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ ส่วนพระศรีมีความซาบซึ้งในรสพระธรรมก็มิได้คิดจะลาสิกขาอีก จึงได้บวชและศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป จนมีความรอบรู้ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยพอสมควร พุทธบริษัทเห็นว่าท่านมีความมั่นคงในพระธรรมวินัย ถือว่าเป็นบุญของ ท่านศรี จนเรียกติดปากกันว่า “ท่านบุญศรี” ต่อมาชาวบ้านจึงได้อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ ไม่นานพระศรีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์บุญศรี ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:54:12 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 25

เด็กชายนาค ก็ได้เรียนหนังสือกับพระสมุห์ศรี ตลอดทั้งอักขระสมัยและวิชาการต่าง ๆ จนมีความรู้พอสมควร พอถึง พ.ศ. 2435 ท่านมีอายุได้ 15 ปี ญาติ ๆ จึงพาไปทำพิธีโกนจุกที่วัดขัน แล้วก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดขันแห่งนี้ จากนั้นก็ย้ายไปจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุอยู่กับพระสมุห์ศรีผู้เป็นบิดา บรรพชาเป็นสามเณรได้หนึ่งพรรษาก็ลาสิกขาออกมา
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2436 พระสมุห์ศรีได้เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพ โดยสารเรือกลไฟซึ่งเดินทางระหว่างสิงค์ไป กับ กรุงเทพ โดยลงเรือปกไปขึ้นเรือไฟใหญ่ นอกสันดอนปลายแหลมตะลุมพุก และได้พา เด็กชายนาคขึ้นมาด้วย โดยฝากให้พระอาจารย์เพ็ง เป็นผู้ดูแลวัดหน้าพระบรมธาตุแทน เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้วพระสมุห์ศรีได้จำพรรษาและเรียนมูลกัจจายอยู่ที่วัดมหาธาตุ ส่วนเด็กชายนาคตอนนั้นอายุได้ 16 ปีได้ไปสมัครเรียนหนังสือแบบใหม่ที่วัดมกุฏิกษัตยาราม แต่เรียนอยู่ได้เพียงปีเดียวก็ลาพระสมุห์ศรีกลับเมืองนครศรีธรรมราช ฝ่ายพระสมุห์ศรีเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ อยู่ได้ 4 ปี ไม่ประจวบจังหวะของการเปิดสอบธรรมสนามหลวง เมื่อก่อนไม่ได้ทำการสอบกันทุกๆปีเหมือนปัจจุบัน จึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช และเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุเหมือนเดิม เมื่อพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออกได้ถึงแก่มรณภาพ พระสมุห์ศรีจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว (บุญศรี)

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 18:55:24 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 26

ในช่วงปี พ.ศ.2437 ในระหว่างนั้น ทางเมืองนครฯ มีพระภิกษุปาน เป็นพระวัดทอนสอ หรือวัดสอสรรเสริญ อำเภอลานสกา เดี๋ยวนี้ เกิดบุพนิมิต มีจิตศรัทธา ชักชวนพุทธบริษัท เข้าจัดซ่อมแซมปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุ ซึ่งขณะนั้นวิหารเขียนถูกไฟไหม้ ห้องพระระเบียงชำรุดขาดการดูแลบำรุงรักษามานาน ดังคำเล่าที่พระปลัดเลี่ยม วัดเพชรจริก ซึ่งในสมัยที่บุรณะพระบรมธาตุท่านอายุ ประมาณ 12 ขวบ ท่านเล่าและแต่งคำกลอนเอาไว้ ท่านปลัดเลี่ยม มรณภาพในปี 2512 ท่านได้เล่าถึงที่นายทองหมีผู้ปลูกที่พักให้พระปานโดยนายทองหมีบอกว่า
“วัดพระธาตุ ลานพระเจดีย์เดี๋ยวนี้ รกร้างถูกทอดทิ้งมากว่า 30 ปีแล้ว เป็นดงไม้ยืนต้น ไม้เถาว์ ไม้เลื้อยคลาน เพกา ผกากรองสูงท่วมศีรษะ เป็นสภาพป่าช้า อากูลด้วยซากศพและมูตคูต ทำความสะอาดไม่ไหว”

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 19:00:51 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 27

ท่านบุญศรี เมื่อกลับจากกรุงเทพก็ได้เข้าช่วยเหลือพระปาน ในการบูรณะวัดพระบรมธาตุ พร้อมด้วยพระเถระอื่นๆ จนลุล่วงเมื่อพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก ถึงกาลมรณภาพ พระสมุห์บุญศรี ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระครูกาแก้ว ตำทำเนียบของคณะสงฆ์ของเมืองนครฯอันมีมาแต่โบราณกาลแทน

ในระหว่างที่พระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก ถึงกาลมรณภาพ นายนาค ลูกชายพระสมุห์บุญศรี ซึ่งขณะนั้นอายุครบบวช จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่จัดสวนหลวงตก โดยท่านอาจารย์ปาน วัดเพชรจริกออก (ปัจจุบันร้างแล้ว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ยู วัดศาลามีชัย กับพระอาจารย์พันธ์ วัดสวนหลวงออก ได้นามฉายาว่า โชติพโล

อุปสมบทแล้วท่านก็มาจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุกับพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ผู้เป็นโยมบิดา ศึกษาพระธรรมวินัยกับหัดเทศน์มหาชาติจนชำนาญ และมีชื่อเสียงในเมืองนครฯ พอพรรษาที่ 3 จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เมื่อมีความรู้พอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช โดยจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ที่พระปลัดนาค โชติพโล

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 19:02:20 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 28

ประจวบกับเวลานั้นท่านพระครูกาแก้ว (บุญศรี) ได้รับศิลาบัลลังก์ ของเจ้าเมืองนครฯ ซึ่งทายาทได้ถวายให้สลักรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยพระเสนีย์ บุตรพระยาปลัดเมืองนครฯเป็นผู้อุปถัมภ์ ท่านพระครุกาแก้ว (บุญศรี) ได้มอบหมายให้พระปลัดนาค พระอาจารย์ทอง วัดหน้าพระลาน พระใบฎีการื่น วัดสระเรียงแกะสลักอยู่ 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ จึงได้ประกอบพิธีวางไว้บนฐานเจดีย์เก่า ซึ่งเรียกว่าเจดีย์พระบุณนาค ซึ่งยังปรากฏอยู่ทางทิศเหนือเดี๋ยวนี้ ในปัจจุบันเป็นเนินซึ่งวงมณฑปสำหรับประดิษฐ์ฐานรอยพระพุทธบาท และมีพระพุทธรูปซึ่งเรียกว่า “พระบุญมาก” แทนชื่อพระเจดีย์เดิมซึ่งเหลือเพียงฐานที่มณฑปอยู่ด้านบน

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 19:03:56 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 29

พระบุญมาก ซึ่งมาทดแทนพระเจดีย์เดิม คือ เจดีย์พระบุณนาค หากไปถามในปัจจุบันไม่มีใครรู้จักพระเจดีย์นี้ แต่รู้จักแต่พระบุญมากองค์นี้แทน ซึ่งเจดีย์พระบุณนาค เหลือเพียงฐานเนินดิน และสร้างมณฑปเพื่อวางรอยพระพุทธบาทที่ท่านพระครูสุนทร พระอาจารย์ทอง วัดหน้าพระลาน พระใบฎีการื่น วัดสระเรียงช่วยกันแกะสลัก

โดย (หลวงชา คนป่ายอม) ดูรายละเอียดสมาชิกคนนี้ [17 ก.ค. 2556 , 19:08:00 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )

ความคิดเห็น 30

ผมขออนุญาตคัดลอกคำซึ่งจารึกและปรากฏบนศิลาบัลลังก์ และพระปลัดนาค พระอาจารย์ทอง วัดหน้าพระลาน พระใบฎีการื่น วัดสระเรียง สลักรอยพระพุทธบาทจำลองไว้ ซึ่งเป็นข้อความตามสมัยนิยมในยุคปี พ.ศ.๒๔๕๐ ความดังนี้

โดย [17 ก.ค. 2556 , 19:09:19 น.] ( IP = 180.183.78.202 : : )
[ 1 ][ 2 ] [ 3 ] [ 4 ][ 5 ][ 6 ][ 7 ][ 8 ][ 9 ][ 10 ][ 11 ]

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น
จาก : *
Code :
กรุณากรอก Code ตัวเลขด้านบน *
อีเมล์ : หากไม่ต้องการให้เว้นว่าง
Your Photo : ไม่เกิน 150KB
ยินดีให้รูปประกอบนี้ ไปให้บริการ ส่งรูปภาพเข้ามือถือ ยินดี ไม่ยินดี
บริการใหม่!! รับฝาก File ฟรี!
รายละเอียด :
Icon Toy
Special command
Register User
Login User

* *
กรุณาคลิ๊ก Post message เพียงครั้งเดียว.... 

คำเตือน
  • การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
  • หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด