ชมรมคนรักพระเครื่อง
Update ขอคำแนะนำ++พระเกจิ ทั้งประวัติ การสร้างวัตถุมงคลของสายใต้(พัทลุง)ใครทราบช่วยโพสหน่อยครับ
ความคิดเห็น 1
เริ่มตั้งแต่สายเขาอ้อ++ รู้ไม่มากน่ะครับ ท่านอาจารย์เอียด วัด ดอนศาลา +ประวัติน่ะครับ อาจารย์เอียด เป็นคนควนขนุนแต่กำเนิด มีพี่น้อง2คนน้องชายชื่อแก้ว บิดาเสียชีวิตตั้งแต่เด็กๆ มารดาเลยนำไปฝากกับ อ. ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ท่านอาจารย์เอียดเป็นคนสุภาพและได้เรียนหนังสือกับอาจารย์ทองเฒ่า++ เดี่ญวค่อยต่อให้วันหลังน่ะครับขี้เกียจพิมพ์ก่อน++
โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [13 ธ.ค. 2548 , 21:13:29 น.] ( IP = 203.114.97.134 : : )
ความคิดเห็น 2
น่าจะมีภาพประกอบด้วยก็น่าจะดี อาจเป็นภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นมากนัก ขอให้ท่านที่สนใจช่วย Post กันเยอะๆจะได้เป็นข้อมูลทั่วไป ที่บ้านก็มีภาพถ่ายอาจารย์เอียด ถ้าจำไม่ผิด รุ่นสมัยนายถัดฯสส.พัทลุงสมัยก่อน ทำมอบให้
โดย ชัย ศรีบรรพต [14 ธ.ค. 2548 , 10:47:59 น.] ( IP = 203.152.15.3 : : )
ความคิดเห็น 3
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2405 ร.ศ. 81 ในปีที่ 12 แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอดเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ ตลาดบ้านดอน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ โยมบิดาของท่านชื่อ ฉุ้น โยมมารดา ชื่อ เนียม บิดาของท่านเป็นชาวบ้านดอน ส่วนโยมมารดาเป็นชาวเกาะพะงัน มีพี่น้องร่วมอุทร บิดา - มารดาเดียวกัน 7 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 5 ครั้งมีพระราชบัญญัติขนานนามสกุล (ขณะท่านอยู่ในเพศบรรพชิดแล้ว) ญาติพี่น้องของท่านใช้ชื่อสกุลว่า "พัฒนพงศ์" เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยค ศึกษาเล่าเรียน ตามเนื้อหาวิชาซึ่งเป็นที่นิยมศึกษาสืบทอดกันอยู่ในยุคสมัยนั้น ตามควรแก่วัยและตามภูมิพื้นความรู้ของผู้เป็นอาจารย์ท่านผู้สอน
โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 16:56:46 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 4
หลวงพ่อพัฒน์ นารโท กล่าวกันว่า เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ท่านก็ได้ทำการสมรสกับนางละม่อม อยู่กินกันหลายปี แล้วมีเหตุบางประการทำให้ท่านต้องบรรพชาอุปสมบท ในระหว่างที่หลวงพ่อบวชอยู่นั้น นางละม่อม ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตรออกมาเป็นผู้หญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ทำให้ท่านตัดสินใจไม่ยอมลาสิกขา ครองเพศสมณะอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เรื่อยมา สำหรับสาเหตุที่ท่านได้อุปสมบท ขณะภรรยากำลังตั้งครรภ์นั้น บ้างว่า เพราะความตระหนักรู้เลื่อมใสในหนทางอริยมรรค เกิดความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย แต่บ้างก็ว่าเพราะเหตุทางประเพณีหรือความเชื่อ เช่น การบวชหน้าไฟ (ในงานศพบุพการี) หรือ การบนบวชเป็นต้น ครั้นเกิดเหตุบุตรที่เพิ่งคลอดเสียชีวิต ประกอบกับการได้หยั่งถึงสัมผัสรับรู้ในความสงบเย็น สว่าง และสะอาดของร่มกาสาวพัสตร์อันมีความเป็นสัปปายะเปี่ยมเหตุปัจจัยที่เอื้ออำนวยเกื้อกูลสนับสนุนโอกาสแห่งความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในทางธรรม จึงทำให้ท่านไม่คิดลาสิกขา คงอยู่ในเพศบรรพชิตต่อไป โดยไม่มีกำหนด หลังจากล่วงเลยเวลาที่ควรลาสิกขาไปนานเข้า นางละม่อมผู้ภรรยาก็ได้ปรารภกับหลวงพ่อ ขอให้ท่านสละเพศบรรพชิต ออกไปครองเรือนใช้ชีวิตครอบครัวดังเดิม แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธ พร้อมกับแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จักอยู่ในสมณเพศต่อไปแบบไม่มีกำหนด หลางปีต่อมา นางละม่อม ก็ได้แต่งงานใหม่ โดยความอนุโมทนาอันดีของหลวงพ่อ เพราะเป็นการช่วยปลดเปลื้องห่วงผูกพันให้แก่ท่านอย่างสิ้นเชิง ในการอุปสมบทของหลวงพ่อพัฒน์นั้น ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 25 ปี ใน พ.ศ. 2430 ณ อุโบสถวัดพระโยค โดยมีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิฐ เจ้าอธิการวัดโพธิ์ ตำบลบ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ. 119) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ (ภายหลังเป็นที่พระครูวิธรธรรมสาสน์) เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และ หลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "นารโท" บวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา
โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 16:57:43 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 5
. อริยฤทธิ์
ในระหว่างการธุดงค์ละแวกภาคใต้ท่านได้พบสถานที่อันเป็นสัปปายะแห่งหนึ่งได้เข้าพักปักกลดเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ระยะหนึ่ง ห่างจากบริเวณที่ท่านพักปักกลดพอสมควร เป็นหมู่บ้านป่าเล็ก ๆ ซึ่งท่านได้อาศัยอาหารจากการใส่บาตรของชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นยังชีวิต หลวงพ่อเคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าเช้าวันหนึ่ง ขณะออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านได้มีสตรีรูปงามนางหนึ่งนำอาหารมายืนคอยใส่บาตรในครั้งแรก ที่ท่านทอดสายตามองไป ก็ได้เห็นว่า สตรีผู้นั้นมีความงดงามมาก ครั้งเมื่อสตรีผู้นั้นกำลังตักบาตร ขณะหลวงพ่อพิจารณาอหารที่สตรีผู้นั้นใส่บาตรก็ปรากฎว่า ท่านได้มองเห็นร่างกายของสตรีโฉมสคราญผู้นั้นเหมือนซากศพ ล้วนแต่ปฏิกูลทั้งสิ้น มีอาการเน่าแฟะ เด็มไปด้วยน้ำเหลือง
หลังจากมองเห็นภาพอย่างนั้นอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วภาพอันน่าสลดชวนปลงสังเวชก็พลันหายไป จิตซึ่งกำลังนิ่งเฉยสงบก่อให้เกิดปัญญา ตระหนักในความเที่ยงของสังขาร พิจารณาเห็นว่า ในหมู่สัตว์ทั้งหลายเมื่อเกิดมาแล้วล้วนมีความตายเป็นที่สุด จะหาสิ่งใดในร่างกายของคนเรานี้เป็นแก่นสารย่อมมิได้เลย สัตว์ทุกรูปทุกนาม เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายเป็นธรรมดา แต่ขณะยังมีชีวิตอยู่แทบทุกชีวิตมักถูกอวิชชาครอบงำ ปกคลุมจิตใจจนมืดมิด กระทั่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เห็นไปว่าเป็นตัวกู ของกูไปหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ยามที่ได้สัมผัสิ่งใดเข้าก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บ ร้อน อ่อน แข็งไปตามสภาพเพราะมีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น มีอุปาทานนั่นเอง ครั้นแล้ว ท้ายสุดก็ล้วนต้องทอดร่างอันน่าเกลียด เน่าเหม็นทิ้งไว้อย่างไร้ความหมายแทบทั้งสิ้น การมองเห็นโฉมงามสคราญ เต่งตึงด้วยเนื้อหนังอวบอั๋น ชวนให้เกิดกำหนัดกระสันรัญจวนใจ เป็นดั่งซากศพเช่นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านคงได้บรรลุถึงความีอริยฤทธิ์แล้ว
"บาลีอีกแห่งหนึ่งชี้แจ้งเรื่อง อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ) ว่ามี 2 ประเภท คือ
1. ฤทธิ์ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์ได้) ได้แก่ฤทธิ์อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป... คือ การที่สมณะ ผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญเพียรจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เช่น แปลงตัวเป็นคนหลายคน ไปไหนก็แหวกทะลุฝากำแพง ไปเหริฟ้า ดำดิน เดินบนน้ำ เป็นต้น
2.ฤทธิ์ที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ (ไม่มีกิเลสไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการบังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียดเป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนหน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรีได้ เห็นสิ่งไม่น่าเกลียดเป็น่าเกลียด ก็ได้ เช่น เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวนให้เกิดราคะ จะมองเป็นอสุภะไป ก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวางทั้งสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เป็นต้น
เรื่องฤทธิ์ 2 ประเภทนี้ ...อิทธิปาฏิหาริย์ จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งทำอะไรได้ผลาดแผลงพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้น ไม่ได้รับความยกย่องในพระพุทธศาสนาไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา ฤทธิ์ที่สุงส่งดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ฤทธิ์ที่ไม่มีพิษภัยแก่ใคร ๆ ได้แก่การบังคับความรู้สึกของตนได้ หรือบังคับจิตใจให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ซึ่งผุ้ได้ฤทธิ์อย่างตนอาจทำไม่ได้ บางครั้งจึงหันไปใช้ฤทธิ์นั้นเป้นเครื่องมือสนองกิเลสของตนตรงข้ามกับฤทธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ" (พุทธธรรม : พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หน้า 461 - 462โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 16:58:27 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 6
การมรณภาพ
เรื่องราวหลังความตายที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เล่าสู่ให้สนใจใคร่รู้ได้ทราบนับเป็นมรณานุสติอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยเตือนสติให้ผู้คนได้ตระหนัก ได้ตรึกระลึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิตและสังขาร อันจักช่วยให้คลายจางจากความยึดถือวาเราว่าของเรา หรือตามที่ท่านพุทธทาสได้ใช้ถ้อยคำให้นักแน่นกินใจว่า "ตัวกู ของกู" ลงบ้าง กับจะได้หันมาบำเพ็ยเพียรประพฤติธรรมทำจิตใจให้ผ่องใส และใคร่ครวญวิจัยวิจารร์ธรรมให้เกิดความเข้าใจและเท่าทันกับความเป็นจริงของชีวิตและโลก คงเพราะเนื่องจากการปฏิเสธคฤหาสน์หลังความตายนี่เองในสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ ท่านจึงมิเคยสร้างกุฏิที่เป็นอาคารหรูหรารโหฐานปานวิมานสำหรับอยู่อาศัยเลย แม้แต่สักหลังหนึ่ง คงอยู่อาศัยแต่เฉพาะในอาคารที่พอเหมาะ พอควรแก่สมณวิสัยจนตลอดชีวิตของท่าน
ก่อนมรณภาพ
ละวาง กล่าวกันว่า ก่อนมรณภาพหลายปีหลวงพ่อพัฒน์ได้มอบภาระกิจหน้าที่ของทางวัดไว้กับหลวงพ่อเจียว สิริสุวณฺโณ พระภิกษุผู้เป็นน้องชายของท่านให้เป็นผู้ดูแลบริหารกิจการของวัดแทนท่าน ส่วนท่านก็มามุมสงบในเขตปริมณฑลของวัดใหม่ โดยใช้ศาลาที่พักศพในป่าช้าเป็นที่พำนัก แล้วทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนา ทำกรรมฐานวิปัสสนาให้ประจักษ์แจ้งแทงตลอดในพระสัทธรรม
รู้กำหนด ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อพัฒน์ได้บอกให้ศิษยืผู้ใกล้ชิดทราบเป็นการล่วงหน้าว่าวันมรณภาพของท่านคือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบต่างก็ดีใจคอไม่ค่อยดี เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา คำพูดของหลวงพ่อมักกลายเป็นความจริงทุกประการ บางคนจึงต้องเตรียมทำใจไว้ล่วงหน้า แบบบว่า อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด แม้มนุษย์สามารถเลือกกระทำ สามารถตัดสินใจได้สารพัดอย่าง แต่บางครั้ง มนุษย์ก็มิอาจฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติได้ รวมทั้งมิอาจขัดขืน กฎแห่งกรรม ในวงจรชีวิตอันสลับซับซ้อนเกินกว่าปัญญาปุถุชนจะวินิจฉัยได้
มรณภาพ
ไม่ว่ายุคใดสมัยใด สรรพสิ่งในโลกกามาวจรใบนี้ ล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้และไม่ใช่ตัวตนที่ยั่งยืนตายตัว แต่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นนิรันดร์ไป หลวงพ่อพัฒน์ พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมถยานิกแห่งลุ่มน้ำตาปี ผู้ตระหนักเข้าใจแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์เป็นอันดีท่านย่อมมีความพร้อม มีจิตใจอันเบิกบานที่จักดำรงสติคอยรอวินาทีแห่งลมหายใจออกเฮือกสุดท้าย อยู่ด้วยความกล้าหาญ มิหวาดหวั่น โดยสงบเย็น และมิได้โหยหาอาลัยอาวรณ์ต่อสรรพสิ่งแม้แต่เค่เพียงเสื้ยวธุลีหนึ่ง ท่านคงตระหนักชัดเป็นมั่นคงแล้วว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลที่เกิดอยู่ หรือตายไป มีก็แต่ธรรมชาติอันเปลี่ยนแปรไปตามเรื่องของธรรมชาติเท่านั้น
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 อันท่านเคยบอกศิษย์ใกล้ชิดว่าเป็นวันมรณภาพของท่านจะมาถึง ในคืนก่อนวันนั้น ท่านได้บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตั้งแต่หัวค่ำ ด้วยความสงบเย็นและสว่าง โดยมิได้มีความประหวั่นพรั่นพรึงต่อความตาย ซึ่งท่านตระหนักทราบว่ากำลังย่างก้าวเข้ามาหาอย่างช้า ๆ แต่หนักแน่นมั่นคง
แม้ว่าในยามนั้น สังขารของท่านจักผจญอยู่กับความป่วยเจ็บตามธรรมดาของสังขาร ที่ต้องร่วงโรยผุพังไปตามกาบเวลาตามกฎแก่งธรรมชาติ แต่จิตใจของท่านยังแจ่มในเบิกบาน สงบเย็น และมิเคยละเว้นจากกิจวัตรประจำวัน ทีท่านได้เคยปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นประจำ คือ การบำเพ็ญสมาธิภาวนาเลย
กระทั่งเวลาประมาณ 04.00 เมื่อรุ่งอรุณเดินทางใกล้เข้ามาทุกขณะ หลวงพ่อพัฒน์ซึ่งนั่งสมาธิตั้งแต่หัวค่ำ ได้ให้บรรดาศิษย์ช่วยกันพยุงท่านลุกขึ้น ด้วยว่ายามนั้นเรี่ยวแรงของสังขารที่ชราภาพลดน้อยถอยลงตามลำดับ ครั้นท่านผลัดเปลี่ยนจีวรชุดใหม่เสร็จแล้ว ศิษยืก็ช่วยประคองท่านนั่งลงทำสมาธิต่อไป
อนึ่ง ก่อนหลับตาลงภาวนา ท่านให้ศิษยืจุดเทียนไว้ที่เบื้องหน้าท่าน พร้อมทั้งห้ามมิให้ใครมาส่งเสียงอื้ออึงในที่นั้นและหลวงพ่อได้กล่าวข้อความทำนองว่า ท่านจะทำสมาธิวิปัสสนาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว กล่าวเสร็จท่านก็หลับตาภาวนากำหนดจิตเข้าสู่สมาธิธรรมเป็นลำดับ
ครั้นประมาณเวลา 08.43 น. บรรดาศิษยืที่เฝ้าดูอาการของท่าน สังเกตเห็นศีรษะของหลวงพ่อโน้มเอียงลงมาเล็กน้อย ต่างจากปกติที่นั่งตัวตรง ไม่ไหวติงจึงได้เข้าไปพินิจดูใกล้ ๆ แล้วก็ประจักษ์ว่า หลวงพ่อพัฒนื นารโท ได้ละทิ้งเบญจขันธ์ไปอย่างสงบดุษฏีแล้ว
เมื่อตรหนักว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว แม้จะเคยทราบจากคำบอกเล่าของท่านมาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ก็ยังอดที่จะโศกเศร้าอาลัยกันมิได้ ในขณะที่กำลังโศกาอาดูรนั้น มีพระภิกษุรอบคอบรูปหนึ่ง ได้ออกไปตามช่างภาพมาบันทึกภาพหลวงพ่อพัฒนืในท่านั่งสมาธิมรณภาพไว้เป็นอนุสรณ์โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 16:59:37 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 7
ศพไม่เน่าเปื่อย
หลังจากได้ทำการบรรจุศพหลวงพ่อแล้ว ครั้นล่วงเข้าปี พ.ศ. 2491 พระภิญโญเจ้าอาวาสวัดใหม่ในขณะนั้น ได้ฝันไปว่าหลวงพ่อพัฒน์มาบอกว่า ขณะนี้ตัวแมลงสาบมารบกวนท่านเหลือเกิน ขอให้ทำการโยกย้ายเปลี่ยนสถานที่ใหม่แรก ๆ เจ้าอาวาสไม่ค่อยใส่ใจนักแม้จะฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สองก็ตาม กระทั่งได้ฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สาม ประมาณวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2491 จึงได้ทำการเปิดที่บรรจุศพออกดูก็พบเห็นแมลงสาบไต่ตอมสรีระของท่านเต็มไปหมดเหมือนกับที่ได้ฝันเห็นไว้ไม่มีผิด
นอกจากนั้น ยังทำให้ได้ทราบกันโดยทั่วไปอีกว่า แม้หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้วหลายปี ในสภาพการณ์แห่งยุคสมัยที่ยังไม่มีการใช้น้ำยาฉีดศพ เพื่อป้องกันการเน่าเหม็นในระยะแรกของการเสียชีวิต แต่สภาพสรีระของหลวงพ่อกลับไม่ได้เน่าเปื่อยตามธรรมดาแต่ประการใด คงยังอยู่ในสภาพคล้ายเดิม โดยมีลักษณะแห้งแกร่งคล้ายหิน
ครั้นได้ประจักษ์ดังนี้ จึงได้มีการบันทึกภาพไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความพิเศษอีกครั้งหนึ่ง สรีระซึ่งไร้ลมปราณ สิ้นชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็ยังไม่เน่าเปื่อย ผุพังตามธรรมชาติวิสัยของหลวงพ่อพัฒน์นี้ นับเป็นประจักษ์พยานชิ้นแรก ๆ สำหรับความพิเศษแผกธรรมชาติ ที่ผู้คนส่วนหนึ่งเชื่อถือว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์อภินิหาร
กล่าวกันว่า ก่อนกาลหลวงพ่อพัฒน์มรณภาพ (พ.ศ. 2485) ขึ้นไปเท่าที่ได้ทราบกันโดยกว้างขวางนั้น ยังไม่เคยปรากฎว่า มีพระเกจิอาจารย์ท่านใดที่มรณภาพแล้ว ศพไม่เน่าเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผงแต่แห้งแกร่งเสมือนกิน ทำนองเดียวกันที่ได้ประจักษ์จากศพของหลวงพ่อพัฒน์ มาก่อนเลย จึงยึดถือกันว่า หลวงพ่อพัฒน์นับเป็นอารยสงฆ์ ผุ้มรณภาพแล้ว เหลือสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยทิ้งไว้เป็นเสมือนพยานวัตถุชั้นปฐม แห่งสภาวะที่ประหนึ่งความมหัสจรรย์สำหรับการประจักษ์และรับรู้ของผู้คนในทศวรรษสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่ยี่สิบห้า
ภายหลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดการบรรจุสรีระอันไม่เน่าเปื่อยแห้งแข็งประดุจหินของหลวงพ่อพัฒนืไว้ในศาลา 6 - 6 - 6 ที่หลวงพ่อสร้างไว้หน้าอุโบสถ อย่างเป็นการถาวรตราบกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งในแทนทุกวันมักจะมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้สักการะและแก้บนอยู่เสมอ ๆโดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 16:59:55 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 8
ด้านวัตถุมงคลแกหรือที่เรียกว่า กระแสสินธ์ หวังว่าทุกคนคงรู้จัก++เอารูปลงไม่ได้อ่ะ บก.หนูนุ้ย
โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 17:02:45 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 9
หนึ่งในศิษย์เขาอ้อที่ไม่ควรมองข้าม
โดย ๛จอมขมังเวทย์๛ [5 ม.ค. 2549 , 17:03:39 น.] ( IP = 125.25.10.125 : : )
ความคิดเห็น 10
สงสัยพื้นที่เก็บรูปเต็มแล้วล่าว เดียวจะจัดการเคลียร์พื้นที่ให้นะครับ ขอบคุณ จอมขมังเวทย์ เท่ช่วยให้ข้อมูลเป็นระยะครับ
โดย บก.หนูนุ้ย [6 ม.ค. 2549 , 15:21:59 น.] ( IP = 202.6.107.59 : : 172.16.128.169 )
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น คำเตือน
- การแอบอ้างใช้ชื่อบุคคลซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
- การโพสรูปภาพที่ไม่เหมาะสม หรือ ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพ อาจถูกดำเนินคดีทางกฏหมายได้
- หากพบเห็นรูปภาพหรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสมสามารถเมล์เข้ามาได้ที่ freewebboard@thaimisc.com โดยระบุ subject "กระทู้ไม่เหมาะสม" พร้อมทั้งระบุ ADDRESS ของเว็บบอร์ด